เหรียญ 10 บาท
เหรียญ 10 บาท

เหรียญ 10 บาท

เหรียญ 10 บาท เป็นเหรียญกษาปณ์ของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย มีทั้งเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 10 บาท ออกใช้เป็นเงินหมุนเวียนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยผลิตเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสีแทนการใช้ธนบัตรราคา 10 บาท ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ด้านหน้าของเหรียญเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเหรียญกษาปณ์รุ่นแรก มีการผลิตขึ้นใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2551[1] และเมื่อมี พ.ศ. 2551 มีการปรับปรุงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเป็นชุดใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง และปรับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น[2][3] โดยเหรียญกษาปณ์ราคา 10 บาทมีการผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน[4] (เหรียญปี พ.ศ. 2551 มีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่)เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 10 บาท รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม มี พ.ศ. ที่ผลิตอยู่บนด้านพระปรางค์ ประกาศออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2531ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงลวดลายของเหรียญ และเปลี่ยนโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญ 10 บาท เป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล น้ำหนักของเหรียญลดลงเป็น 3.00 กรัม จากเดิม 3.40 กรัม โดยที่ยังมีขนาดความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอมเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกของไทย มีการออกชนิดราคา 10 บาทมานานแล้วก่อนที่จะมีเหรียญหมุนเวียนชนิด 10 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมที่ใช้ผลิตเหรียญไปตามราคาโลหะในขณะนั้นข้างล่างเป็นรายการเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 10 บาท ถึงกลางปี พ.ศ. 2555[6]เป็นเหรียญที่มีส่วนผสมเป็น นิกเกิล 100% ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 15 กรัม เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2520เป็นเหรียญเนื้อคิวโปรนิกเกิล มีส่วนผสมเป็น ทองแดง 75% นิกเกิล 25% ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 15 กรัม เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2533ใช้ส่วนผสม ขนาด และน้ำหนัก เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 10 บาท เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2539